Tuesday, November 11, 2008

Chemical in Karton Box

ได้รับการสอบถามเข้ามาเป็นประจำเกี่ยวกับ ความปลอดภัยของบรรจุภัณฑ์กล่อง ที่ใช้ในการบรรจุอาหาร ว่ามีความปลอดภัยเพียงใด มีส่วนผสมของสารเคมีใดบ้าง เป็นอันตรายมั๊ย มีสารเคมีตัวนั้นตัวนี้ประกอบบ้างมั๊ย
บทความนี้เป็นการสรุปแจกแจงถึงสารเคมีในส่วนประกอบ และอันตรายที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ในส่วนของ บรรจุภัณฑ์กล่อง อย่างไรก็ตามบรรจุภัณฑ์ที่ทางบริษัทผลิตได้รับการรับรองด้าน GMP / HACCP และวัตถุดิบที่ใช้ มีใบรับรองความปลอดภัยประกอบเสมอ
การวิเคราะห์สารเคมีในบรรจุภัณฑ์ มักมาจากวัตถุดิบที่ใช้ โดยแจกแจงได้ดังนี้
- สารเคมีในกระบวนการผลิตกระดาษ
- สารเคมีในหมึกพิมพ์
- สารเคมีในน้ำยาเคลือบ
- สารเคมีในกาว

อย่างไรก็ตามวัตถุดิบแต่ละชนิดจะใช้สารเคมีมากมายเป็นส่วนผสม บทความนี้จะอธิบายเฉพาะสารเคมีหลักที่เกี่ยวข้องและเป็นอันตราย

1. สารเคมีในกระบวนการผลิตกระดาษ แบ่งแยกย่อยได้แก่
- เคมีที่ใช้ในการเตรียมเยื่อกระดาษ ได้แก่สารจำพวก Sulfate หรือ Sulfite ขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิต เช่น (sodium hydroxide (NaOH) and sodium sulfide (Na2S)) ในกระบวนการผลิตเยื่อ Sulfite หรือ เรียกอีกอย่างว่า เยื่อ Kraft และสาร (Sulfurous acid (H2SO3) and HSO3- (bisulfite ion inform of calcium)) ในกระบวนการผลิตเยื่อ Sulfate
- เคมีที่ใช้ในการฟอกเยื่อกระดาษ สารจำพวก คลอรีน หรือ เปอร์ออกไซด์ (hydrogen peroxide, chlorine, chlorine dioxide, sodium hydroxide, hypochlorite)
- เคมีส่วนเติมเต็ม Additive ได้แก่สารเพิ่มคุณสมบัติด้านต่างๆ ให้กับกระดาษ เช่น เพิ่มความขาว, การต่อต้านน้ำ, หรือสารเพิ่มความเหนียว
ดูสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิตกระดาษได้จาก
http://www.chemtrack.org/HazMap-Process-Info.asp?ID=36
ข้อมูลกระบวนการผลิตกระดาษ
http://www.ecy.wa.gov/programs/air/pdfs/pulpmil3.pdf
อย่างไรก็ตามวิวัฒนาการการผลิตในปัจจุบันมีการปรับปรุงไปมาก สารเคมีอันตรายที่เคยใช้ในอดีต อาจจะไม่ได้ใช้ในบางโรงงานในปัจจุบัน เช่น ปัจจุบันโรงงานผลิตกระดาษหลายที่ยกเลิกใช้สารคลอรีนในการฟอกเยื่อกระดาษ โดยมีการรณรงค์ให้ติดตรา ECF (elementary chlorine-free) หรืด TCF (totally chlorine-free pulps) สำหรับโรงงานที่ไม่ใช้ คลอรีนในกระบวนการผลิต

หัวข้อที่เหลือต่อตอนหน้า

Friday, October 31, 2008

Colors Print in Offset in Q&A style

หลายคนที่ต้อง Deal กับโรงพิมพ์คงเบื่อที่ต้องฟังศัพท์เทคนิค เรื่องสีพิมพ์ที่ใช้ในกระบวนการพิมพ์ เช่น CMYK คืออะไร สีพิเศษเบอร์151 เป็นยังงัย โอเคเราจะพยายามอธิบายให้ฟังอย่างง่ายและสั้นครับ ในรูปแบบ Q&A แล้วกันครับ

ทำไมโรงพิมพ์ชอบพูดถึงสี CMYK อะไรกันจัง??

C มาจาก สีที่ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Cyan ออกแนวฟ้าๆ
M มาจาก สีที่ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Magenta สีออกบานเย็น
Y มาจาก สีที่ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Yellow ก็สีเหลืองนั่นน่ะแหละ
K หรือ Black ตรงตัวว่า สีดำแน่ๆ




การพิมพ์ Offset จะใช้แค่ 4 สีเป็นพื้นฐานในการสร้างสีอื่นๆ เช่น หากต้องการพิมพ์สีเทา ก็จะนำสีดำ หรือ K มาพิมพ์เป็นจุดๆ แทนที่จะพิมพ์ทึบ เราก็จะถูกหลอกตาว่านี่คือสีเทา หากมองไกลๆ แต่จริงๆ แล้วสีที่พิมพ์คือสีดำ แต่พิมพ์เป็นจุดๆ แทน สรุปแล้วคือการ หลอกตาคนนั่นเอง
ดังนั้น สี CMYK ที่เค้าชอบพูดกันก็คือ สี่สีหลักในกระบวนการพิมพ์ ที่สามารถพิมพ์รูปภาพต่างๆ ให้ออกมาได้คล้ายจริงมาก (สังเกตได้จากหนังสือพิมพ์ จะมาออกเป็นจุดชัดมาก และจะพิมพ์สี CMYK ที่ด้านล่างหนังสือพิมพ์เสมอ)



แล้วสีพิเศษที่โรงพิมพ์ชอบพูดกันล่ะ??
ก็เป็นสีจริงๆ ที่ใช้พิมพ์ลงไปนั่นเอง เช่น ต้องการพิมพ์สีเทา ก็คือผสมสีเทาขึ้นมาโดยเอาสีดำมาผสมกับสีขาว ให้ได้เทา แล้วค่อยพิมพ์ลงไป เห็นมะว่าต่างจากด้านบนละ สีที่ได้จะเป็นสีเทาจริงๆ ไม่ใช่การหลอกตา มานุด

ก็ CMYK แล้วยังไม่พออีกหรอ จะใช้สีพิเศษกันทำไม??
ก็ไม่พองัยถึงต้องใช้สีพิเศษ แม้ CMYK สามารถผสมสีหลอกตาคน ให้ออกมาได้หลากหลายแล้ว แต่บางก็ยังสู้การใช้สีพิเศษไม่ได้ สีพิเศษมันจะสด สวย ใสกว่าเยอะ ดังนั้นเค้าเลยชอบออกแบบ อาร์ตเวิร์ค ให้ใช้สีพิเศษในตำแหน่ง โลโก้ หรือ Background ที่ต้องการเน้นความถูกต้องของสีสูง

แล้ว Pantone กับสีพิเศษอีกหล่ะ เกี่ยวไรกัน??
ก็เกี่ยวแหละไม่งั้นเค้าก็ไม่ทำขึ้นมาหรอก สมมุติว่า ผมอยากได้สีส้มแบบ แบบ แบบ พระอาทิตย์ตกดินอะไรประมาณเนี๊ยะ แล้วตกลงมันส้มไหนล่ะ ฝรั่งก็เลยคิดระบบ Pantone ขึ้นมาเพื่อค้ากำไร และเป็นมาตรฐานทั่วโลกว่า ไอ้ส้มแบบพระอาทิตย์ตกดิน ที่อยากได้คือสีเบอร์อะไร ก็แค่นั้นล่ะครับ

ทั้งหมดนี้เป็นพื้นฐาน มีทำ Link Download สี Pantone เป็นไฟล์ pdf ให้เผื่อไว้เช็คคร่าวๆ ครับ

http://www.bannermarketinggroup.com/InkColorChart.htm

http://www.earthinspiredproducts.com/PantoneColorChart.pdf


อ้อ Pantone ที่พูดถึง ย่อมาจาก PMS หรือ Pantone Matching System ความหมายก็ตรงตัวเลยนั่นแหละ (ระบบจับคู่สีของ บริษัท Pantone จ้า)

Tuesday, October 28, 2008

Just Relax at Bottom Page

Go to bottom page with HANGMAN Game...Just Relax <'U'>


HANGMAN is a basic to complete a word by guessing each letter on blank.. Have Fun ..

Successfully HACCP certification


WoW wOw WoW with HACCP certification from MOODY. Many of our client use this company.
On our next project might be BRC, ISO 14000, ISO 22000. Let it be future!!!

OUR CERTIFICATION


ISO 9001:2000 from "TUV SUD" Germany's CB. TUV SUD is famous for automobile industry. What about packaging???

Friday, October 24, 2008

Thursday, October 23, 2008