ทำไมโรงพิมพ์ชอบพูดถึงสี CMYK อะไรกันจัง??
C มาจาก สีที่ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Cyan ออกแนวฟ้าๆ
M มาจาก สีที่ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Magenta สีออกบานเย็น
Y มาจาก สีที่ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Yellow ก็สีเหลืองนั่นน่ะแหละ
K หรือ Black ตรงตัวว่า สีดำแน่ๆ
การพิมพ์ Offset จะใช้แค่ 4 สีเป็นพื้นฐานในการสร้างสีอื่นๆ เช่น หากต้องการพิมพ์สีเทา ก็จะนำสีดำ หรือ K มาพิมพ์เป็นจุดๆ แทนที่จะพิมพ์ทึบ เราก็จะถูกหลอกตาว่านี่คือสีเทา หากมองไกลๆ แต่จริงๆ แล้วสีที่พิมพ์คือสีดำ แต่พิมพ์เป็นจุดๆ แทน สรุปแล้วคือการ หลอกตาคนนั่นเอง
ดังนั้น สี CMYK ที่เค้าชอบพูดกันก็คือ สี่สีหลักในกระบวนการพิมพ์ ที่สามารถพิมพ์รูปภาพต่างๆ ให้ออกมาได้คล้ายจริงมาก (สังเกตได้จากหนังสือพิมพ์ จะมาออกเป็นจุดชัดมาก และจะพิมพ์สี CMYK ที่ด้านล่างหนังสือพิมพ์เสมอ)
แล้วสีพิเศษที่โรงพิมพ์ชอบพูดกันล่ะ??
ก็เป็นสีจริงๆ ที่ใช้พิมพ์ลงไปนั่นเอง เช่น ต้องการพิมพ์สีเทา ก็คือผสมสีเทาขึ้นมาโดยเอาสีดำมาผสมกับสีขาว ให้ได้เทา แล้วค่อยพิมพ์ลงไป เห็นมะว่าต่างจากด้านบนละ สีที่ได้จะเป็นสีเทาจริงๆ ไม่ใช่การหลอกตา มานุด
ก็ CMYK แล้วยังไม่พออีกหรอ จะใช้สีพิเศษกันทำไม??
ก็ไม่พองัยถึงต้องใช้สีพิเศษ แม้ CMYK สามารถผสมสีหลอกตาคน ให้ออกมาได้หลากหลายแล้ว แต่บางก็ยังสู้การใช้สีพิเศษไม่ได้ สีพิเศษมันจะสด สวย ใสกว่าเยอะ ดังนั้นเค้าเลยชอบออกแบบ อาร์ตเวิร์ค ให้ใช้สีพิเศษในตำแหน่ง โลโก้ หรือ Background ที่ต้องการเน้นความถูกต้องของสีสูง
แล้ว Pantone กับสีพิเศษอีกหล่ะ เกี่ยวไรกัน??
ก็เกี่ยวแหละไม่งั้นเค้าก็ไม่ทำขึ้นมาหรอก สมมุติว่า ผมอยากได้สีส้มแบบ แบบ แบบ พระอาทิตย์ตกดินอะไรประมาณเนี๊ยะ แล้วตกลงมันส้มไหนล่ะ ฝรั่งก็เลยคิดระบบ Pantone ขึ้นมาเพื่อค้ากำไร และเป็นมาตรฐานทั่วโลกว่า ไอ้ส้มแบบพระอาทิตย์ตกดิน ที่อยากได้คือสีเบอร์อะไร ก็แค่นั้นล่ะครับ
ทั้งหมดนี้เป็นพื้นฐาน มีทำ Link Download สี Pantone เป็นไฟล์ pdf ให้เผื่อไว้เช็คคร่าวๆ ครับ
http://www.bannermarketinggroup.com/InkColorChart.htm
http://www.earthinspiredproducts.com/PantoneColorChart.pdf
อ้อ Pantone ที่พูดถึง ย่อมาจาก PMS หรือ Pantone Matching System ความหมายก็ตรงตัวเลยนั่นแหละ (ระบบจับคู่สีของ บริษัท Pantone จ้า)