ได้รับการสอบถามเข้ามาเป็นประจำเกี่ยวกับ ความปลอดภัยของบรรจุภัณฑ์กล่อง ที่ใช้ในการบรรจุอาหาร ว่ามีความปลอดภัยเพียงใด มีส่วนผสมของสารเคมีใดบ้าง เป็นอันตรายมั๊ย มีสารเคมีตัวนั้นตัวนี้ประกอบบ้างมั๊ย
บทความนี้เป็นการสรุปแจกแจงถึงสารเคมีในส่วนประกอบ และอันตรายที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ในส่วนของ บรรจุภัณฑ์กล่อง อย่างไรก็ตามบรรจุภัณฑ์ที่ทางบริษัทผลิตได้รับการรับรองด้าน GMP / HACCP และวัตถุดิบที่ใช้ มีใบรับรองความปลอดภัยประกอบเสมอ
การวิเคราะห์สารเคมีในบรรจุภัณฑ์ มักมาจากวัตถุดิบที่ใช้ โดยแจกแจงได้ดังนี้
- สารเคมีในกระบวนการผลิตกระดาษ
- สารเคมีในหมึกพิมพ์
- สารเคมีในน้ำยาเคลือบ
- สารเคมีในกาว
อย่างไรก็ตามวัตถุดิบแต่ละชนิดจะใช้สารเคมีมากมายเป็นส่วนผสม บทความนี้จะอธิบายเฉพาะสารเคมีหลักที่เกี่ยวข้องและเป็นอันตราย
1. สารเคมีในกระบวนการผลิตกระดาษ แบ่งแยกย่อยได้แก่
- เคมีที่ใช้ในการเตรียมเยื่อกระดาษ ได้แก่สารจำพวก Sulfate หรือ Sulfite ขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิต เช่น (sodium hydroxide (NaOH) and sodium sulfide (Na2S)) ในกระบวนการผลิตเยื่อ Sulfite หรือ เรียกอีกอย่างว่า เยื่อ Kraft และสาร (Sulfurous acid (H2SO3) and HSO3- (bisulfite ion inform of calcium)) ในกระบวนการผลิตเยื่อ Sulfate
- เคมีที่ใช้ในการฟอกเยื่อกระดาษ สารจำพวก คลอรีน หรือ เปอร์ออกไซด์ (hydrogen peroxide, chlorine, chlorine dioxide, sodium hydroxide, hypochlorite)
- เคมีส่วนเติมเต็ม Additive ได้แก่สารเพิ่มคุณสมบัติด้านต่างๆ ให้กับกระดาษ เช่น เพิ่มความขาว, การต่อต้านน้ำ, หรือสารเพิ่มความเหนียว
ดูสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิตกระดาษได้จาก http://www.chemtrack.org/HazMap-Process-Info.asp?ID=36
ข้อมูลกระบวนการผลิตกระดาษ http://www.ecy.wa.gov/programs/air/pdfs/pulpmil3.pdf
อย่างไรก็ตามวิวัฒนาการการผลิตในปัจจุบันมีการปรับปรุงไปมาก สารเคมีอันตรายที่เคยใช้ในอดีต อาจจะไม่ได้ใช้ในบางโรงงานในปัจจุบัน เช่น ปัจจุบันโรงงานผลิตกระดาษหลายที่ยกเลิกใช้สารคลอรีนในการฟอกเยื่อกระดาษ โดยมีการรณรงค์ให้ติดตรา ECF (elementary chlorine-free) หรืด TCF (totally chlorine-free pulps) สำหรับโรงงานที่ไม่ใช้ คลอรีนในกระบวนการผลิต
หัวข้อที่เหลือต่อตอนหน้า
Tuesday, November 11, 2008
Subscribe to:
Posts (Atom)